"สืบ นาคะเสถียร" 28 ปี แห่งการจากไปกับเสียงปืนที่ไม่เคยเงียบหาย
1 กันยายน ของทุกปี เป็นวันรำลึกการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย
สืบ นาคะเสถียร มีชื่อเดิมว่า "สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่จังหวัดปราจีนบุรีตั้งแต่เด็ก เขามีนิสัยที่เมื่อสนใจหรือตั้งใจจะทำอะไร จะมีความมุ่งมั่นและตั้งใจทำอย่างจริงจัง ให้สิ่งนั้นออกมาดีที่สุด จนประสบความสำเร็จ ถึงแม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
ในปี พ.ศ. 2529 สืบได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมป่าไม้ ในตำแหน่งหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสัตว์นับพันตัวได้รับความช่วยเหลือ แต่สืบรู้ดีว่ามีสัตว์อีกจำนวนมหาศาลที่ตายจากการสร้างเขื่อน
ต่อมาสืบได้เปลี่ยนบทบาทจากนักวิชาการไปสู่นักอนุรักษ์ โดยเข้าร่วมต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน จังหวัดกาญจนบุรี โดยชี้ให้เห็นถึงบทเรียนที่ต้องมีสัตว์จำนวนมากล้มตายจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลานในครั้งนั้น จนได้ยุติการสร้างไป
ทุกครั้งที่สืบเริ่มต้นอภิปราย เขาจะเริ่มต้นด้วยคำว่า "ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่า" นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่เป็นการทำเพื่อสัตว์ป่าทุกตัว ที่ไม่สามารถพูดเองได้
พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ แต่ตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จึงพบปัญหาต่างๆมากมายในห้วยขาแข้ง อาทิ การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ของผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าถูกยิงเสียชีวิต ปัญหาความยากจนของชาวบ้านที่อยู่ บริเวณรอบพื้นที่ป่า ที่สำคัญปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ใหญ่ไม่เคยให้ความสนใจเลย
เขาจึงทุ่มเทเขียนรายงานนำเสนอต่อยูเนสโก เพื่อขอให้พิจารณาทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก เพื่อเป็นการค้ำประกัน ได้ว่าพื้นที่แห่งนี้จะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่
ช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 กันยายน 2533 สืบได้ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงด้วยเสียงปืนภายในห้องพักของตน พร้อมเขียนถึงจดหมายที่มีเนื้อหาชี้แจงถึงการฆ่าตัวตายของตน ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ใช่การคิดสั้น แต่เป็นการคิดมาอย่างดีแล้ว เหตุที่ต้องทนรับแรงกดดันจากหลายๆด้าน และ ต้องการ เรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้หันมาสนใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจัง
โดยก่อนการจบชีวิตลง สืบคงยังทำหน้าที่เป็นนักอนุรักษ์ที่ปฏิบัติหน้าที่จนวันสุดท้าย ได้จัดการคืนทรัพย์สินที่ยืมมา พร้อมทั้งอุทิศเครื่องมือของตนที่ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่าให้แก่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ จนกระทั่งเสียงปืนดังขี้นจากบ้านพัก นับเป็นจุดจบของชีวิตผู้ชายที่ชื่อ "สีบ นาคะเสถียร"
แต่เป็นการเริ่มต้นให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมป่าไม้ และผู้เกี่ยวข้องได้ประชุมเพื่อหาทางป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้ง ที่ไม่เคยให้ความสำคัญ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลต่อยูเนสโก เพื่อพิจารณาให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก เพื่อสร้างเกราะป้องกันผืนป่าแห่งนี้ไว้ จากการที่สืบเคยได้พยายามที่จะเสนอการจัดประชุมเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วก็ตาม จนกระทั่งเสียชีวิตลง การประชุมครั้งนั้นจึงเกิดขึ้น จึงมีคนกล่าวไว้ว่า “หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้น”
“หากมีวันหนึ่ง คุณถูกคนร้ายจับล่ามโซ่ ภรรยาคุณกำลังถูกคนร้ายข่มขืน คุณไม่สามารถช่วยเหลือคนรักของคุณได้ คุณดิ้นสุดขีด แต่ไร้ผล คุณตะโกนก้องเพื่อให้คนอื่นมาช่วย
แต่คนเหล่านั้นแกล้งทำเป็นไม่ได้ยิน บางคนบอกว่าให้คุณช่วยตัวเองไปก่อน คุณดิ้นพล่านเมื่อเมียรักร้องด้วยความเจ็บปวด แต่ไม่มีใครสนใจ”
“แล้วสุดท้ายคุณก็มิอาจทนกับสภาพอันบัดซบที่เกิดขึ้นต่อหน้าคุณ โดยที่คุณไม่อาจช่วยภรรยาอันเป็นที่รักยิ่งได้ และถึงเวลานั้น คุณแทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ คุณอาจเลือกทำร้ายตัวเองเพื่อบอกว่า มีอะไรเกิดขึ้นกับชีวิตคุณ”
จนในปี พ.ศ.2534 ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาได้ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก หลังจากที่สืบจากไป
ในมุมมองของFolio การจากไปของสืบ ทำให้เราได้แง่คิดในการทำงานหลายด้าน
- อย่าเห็นคุณค่าสิ่งที่เค้าทำ ในวันที่ต้องสูญเสียเค้าไป
“สืบมักจะบ่นเสมอว่า ทำอย่างไรเราจะช่วยสัตว์ได้มากกว่านี้ แต่เขาไม่เคยพูดถึงปัญหาอะไรให้ฟัง ถ้ามีปัญหาอะไร สิ่งที่เขาจะแสดงออกคือการเงียบ สูบบุหรี่มวนต่อมวน ไม่เคยโวยวายกับเพื่อนร่วมงานเลย”
การทำงานก็เช่นกัน ไม่ควรมองหาว่าใครผิด ใครทำให้งานไม่เกิดผลลัพธ์ แต่ควรจะมองถึงวิธีการทำงานว่าจะทำอย่างไรให้งานนั้นสำเร็จมากกว่า
CR.ข้อมูล มูลนิธิสืบนาคะเสถียร / th.wikipedia
บทความนี้ได้แรงบันดาลใจ จาก สืบ นาคะเสถียร
Article by FolioBrand #Folioliveprofessional / 1 Aug 2018