หนังคนละชั้น !
พูดถึงเรื่องหนังเนี่ย เรามีเรื่องคุยกันเยอะแยะเลยนะคะ ว่าแต่...หนังสัตว์ที่เรานำมาสร้างผลิตภัณฑ์เนี่ยพอจะทราบไหมคะว่าถูกนำมาจากส่วนไหนบ้าง หลายคนคงขำแล้วนึกในใจ จะบ้าหรอ
หนังสัตว์ก็ต้องนำมาจากส่วนของผิวหนังชั้นนอกซิ จะมาจากส่วนไหนได้ล่ะ จริงค่ะ คำตอบนี้ไม่เถียง เพราะหนังแท้ๆ ที่นำมาใช้จะมีเอกลักษณ์หรือลวดลายบ่งบอกความเป็นสัตว์ชนิดนั้น เช่น หนังงู หนังจระเข้ หนังเสือ เป็นต้น
แต่สำหรับหนังบางชนิด รู้หรือเปล่าว่า เค้าไม่ใช่แค่นำหนังชั้นนอกมาใช้เพียงอย่างเดียว
ก็อย่างเช่น หนังวัว ไงล่ะคะ หนังวัวที่เราเห็นๆ ในผลิตภัณฑ์ทั่วไปเนี่ยมาจากผิวหนังชั้นนอกจนถึงชั้นในเลยนะคะ มันเป็นหนังคนละชั้นกันค่ะ
โอ่..โฮ้ !! น่าตื่นเต้นขึ้นมาแล้วล่ะซิ ว่าแต่คุณสมบัติของหนังแต่ละชั้นสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
จริงๆ แล้ว ก่อนที่เค้าจะนำเอาแผ่นหนังไปผ่านกรรมวิธีการฟอกและตกแต่งนั้น เค้าต้องคัดเลือกแผ่นหนังที่ได้ มาปาดเป็นแผ่นแยกคุณภาพของหนังเสียก่อน ซึ่งเราสามารถแบ่งตามลักษณะหรือโครงสร้างของหนังได้ด้วย เรียกง่ายๆ ว่าแบ่งตามลักษณะชั้นผิวหน้าไงคะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
-
Full grainเป็นหนังชั้นแรกที่มีลวดลายของหนังสัตว์ธรรมชาติอยู่ จัดเป็นหนังแท้ที่เป็นธรรมชาติที่สุดโดยพื้นผิวหนังไม่เรียบ และยังคงริ้วรอยต่างๆ เช่น รอยขูดขีดร่องรอยการต่อสู้ หรือรอยของแมลง สัตว์ กัด ต่อย เป็นต้น Full Grain จึงเป็นประเภทหนังที่ทนทานเป็นพิเศษเหมาะกับการนำไปผลิตเป็นชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ กระเป๋าแบรนด์เนม หรือรองเท้าค่ะเช่นเอาไปทำหนังประเภทฟอกฝาด Aniline และ Semi-Aniline เป็นหนังชั้นแรกที่มีลวดลายของหนังสัตว์ตามธรรมชาติที่สุดหลังจากผ่านกระบวนการฟอกหนังแล้วจะนำมาทำการตกแต่งโดยการพ่นเงาเน้นลวดลายของตัวหนังขึ้นมาเองเรียกว่าเป็นประเภทหนังที่มีความทนทานตามธรรมชาติ
3. Lining เป็นหนังชั้นสุดท้าย ซึ่งมีโครงสร้างไม่เหมาะสำหรับนำไปทำหนังหน้า ส่วนใหญ่จะถูกนำไปทำซับในของผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เพื่อเอาไว้เสริมความแข็งแรง ความหนา
เห็นไหมล่ะคะ ว่าวัวตัวเดียวเนี่ยสามารถคัดหนังกันได้หลายชั้นเลย ซึ่งคุณภาพและราคาก็แตกต่างกันด้วย ต่อไปนี้เวลาไปเลือกซื้อกระเป๋าหนัง คงต้องเลือกดูดีๆ แล้วล่ะคะว่าเป็นหนังชั้นไหน เราจะถึงได้สินค้าที่ถูกใจและราคาเหมาะสมกับราคา เพราะเราเข้าใจแล้วว่า มัน..หนังคนละชั้นกัน !!!
#ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://vintageblog.scf-vintage.com/blogvintage/vintage-knowledge/